|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
Filter Bag หรือ "ถุงกรองฝุ่น" ที่ทางเราตัดเย็บนั้นมีหลายขนาดหลายวัตถุประสงค์การใช้งาน
แต่ถุงกรองฝุ่นที่ทางเราตัดเย็บโดยส่วนมากจะใช้กับอุตสาหกรรมซีเมนต์, อุตสาหกรรมอาหารสัตว์,
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์, อุตสากรรมกระดาษ, อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก, เหล่านี้เป็นต้น
ขนาดของ Filter Bag หรือ ถุงกรองฝุ่น ที่เราตัดเย็บส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับ Bag House หรือขนาดเดิม
ที่ทางลูกค้าเคยใช้งานอยู่เป็นหลัก สำหรับวัสดุที่ใช้ในการตัดเย็บนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของฝุ่นที่มีทั้ง
ฝุ่นควัน, ฝุ่นสารเคมี, ฝุ่นที่มีความคม, ฝุ่นที่เป็นกรดและสารพิษ, ฝุ่นที่มีความร้อนสูงพร้อมขี้เถ้า,
ผงคาร์บอน, หรือแม้กระทั่งฝุ่นที่เกิดจากเยื่อกระดาษ รวมไปถึงฝุ่นที่เกิดจากห้องพ่นสีในโรงงาน
ซึ่งแนวทางการเลือกใช้วัสดุของทางเราในการตัดเย็บถุงกรองฝุ่น ก็จะเป็นไปดังตารางด้านล่าง
FABRIC |
OPERATION
TEMP. (C) |
TENSILE
STRENGTH |
ABRASION
RESISTANCE |
ACIDS
RESISTANCE |
ALKALINE
RESISTANCE |
COTTON |
80 |
GOOD |
AVERAGE |
POOR |
EXCELLENT |
POLYPROPYLENE |
88 |
EXCELLENT |
GOOD |
EXCELLENT |
EXCELLENT |
POLYESTER |
135 |
EXCELLENT |
EXCELLENT |
GOOD |
FAIR |
NOMEX |
204 |
VERY GOOD |
VERY GOOD |
FAIR |
VERY GOOD |
TEFLON |
232 |
AVERAGE |
BELOW |
EXCELLENT |
EXCELLENT |
FIBERGLASS |
260 |
EXCELLENT |
POOR |
GOOD |
POOR |
แต่โดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้งานทั่วไปสำหรับถุงกรองฝุ่น จะใช้ผ้าโปลีเอสเตอร์ (Polyester Felt Fabric)
ในการตัดเย็บและได้รับความนิยมในวงกว้าง เนื่องจากมีค่าที่ยอมให้ลมไหลผ่านสูงหรือมี High Air
Permeability Rate นั่นเอง ซึ่งก็จะทำให้สามารถดักจับฝุ่นที่มีความละเอียดมากไว้ได้ด้วย อีกทั้งยัง
มีราคาถูกกว่าผ้าชนิดอื่นๆอยู่พอสมควร และหาได้ทั่วไปในท้องตลาด
สำหรับขนาดมาตรฐานของถุงกรองฝุ่น ก็จะมีความยาวตามท่อหรือตู้ที่ออกแบบไว้ จะแตกต่างกัน
ก็ที่ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางก็จะมีตั้งแต่ขนาด ส.ก.130 มม ยาว 2.0, 2.5, 3.0, 3.5, 4.0 เมตร
หรือยาวมากกว่านี้
คุณสมบัติพื้นฐานเพื่อพิจารณาเลือกใช้ถุงกรองฝุ่น
การยอมให้ของเหลวหรืออากาศซึมผ่านได้ – Air Permeability
เนื้อผ้าที่จะนำมาตัดเย็บถุงกรองฝุ่นต้องมีความสามารถในการให้ทั้งน้ำและอากาศซึมผ่านได้ ซึ่งความ
สามารถที่ว่านี้สามารถวัดได้โดยปริมาตร “อากาศ/หน่วย” หรือ “เนื้อผ้า (ลบ.ซม.)/วินาที/ซ.ม.2” ที่ความ
กดดันของอากาศต่างกัน 0.5 ในน้ำ หรือ 13 ม.ม.ซึ่งหารด้วยวิธีการทดสอบของ “เฟรเซียร์” และแม้ว่า
ผงฝุ่นที่เกาะอยู่ตามถุงกรองฝุ่นนั้นสามารถขจัดออกไปได้ด้วยอากาศที่หมุนเวียนถ่ายเทออกไป แต่สุดท้าย
แล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายเทของผ้าแต่ละชนิดเป็นหลัก
ความแข็งแรงทางด้านวิศวกรรม – Tensile Strength
เนื้อผ้าของถุงกรองฝุ่นต้องมีความสามารถต้านทานแรงดึง อันเกิดจากแรงดันลมที่อัดเข้ามาภายใน
ถุงกรองฝุ่นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดีในระหว่างมีการทำความสะอาด
หรือปล่อยลมออกจากถุงกรองฝุ่น ที่สำคัญต้องทนทานต่อการเสียดสีโดยมิให้เกิดการฉีกขาดระหว่าง
การติดตั้งตัวถุงกรองกับโครงเหล็ก ซึ่งหมายความว่าเนื้อผ้าต้องมีทั้งความเหนียวและความยืดหยุ่นใน
ตัวของมันเอง
ความสามารถในการจัดทรงให้คงรูป - Stability
โครงสร้างของเนื้อผ้าถุงกรองฝุ่นต้องอยู่ทรง และมีช่องว่างพอดีสำหรับป้องกันฝุ่นจากภายในออกมา
ด้านนอก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถป้องกันฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกมิให้เล็ดลอด
เข้าไปภายในถุงกรองด้วย
ความทนทานต่อการกัดกร่อนของสนิม - Stainless
ชุดเครื่องกรองฝุ่นเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง อาจมีสนิมเนื่องจากความชื้นของอากาศหรือก๊าซ เกิดขึ้นที่
เครื่องกรองหรือโครงเหล็กได้เพราะฉะนั้นเนื้อผ้าที่จะนำมาผลิตถุงกรองจะต้องมีคุณสมบัติ
ต้านทานการกัดกร่อนจากสนิมได้เป็นอย่างดี
ความทนทานต่อความร้อน – Heat Resistance
เนื้อผ้าที่จะนำมาผลิตถุงกรองฝุ่นแต่ละชนิด จะต้องมีคุณสมบัติต้านทานความร้อนระหว่างการ
ใช้งานด้วย ซึ่งประเภทของงานหรือประเภทของอุตสาหกรรม จะเป็นตัวกำหนดอุณหภูมิในระดับ
ต่างๆกัน สำหรับเนื้อผ้าแต่ละชนิด
ความสามารถในการทำความสะอาดได้ – Clean Ability
เนื้อผ้าต้องมีผิวหน้าแบบพิเศษ ในการที่จะปล่อยผงฝุ่นออกมาเมื่อมีการทำความสะอาด (ไม่อมฝุ่น)
และต้องไม่เปื่อยหรือฉีกขาดเร็วจนเกินไป ในกรณีที่มีการทำความสะอาดถุงกรองฝุ่นตาม
อายุการใช้งาน
ความไม่ยืด-หดตัว – Non Shrink
เนื้อผ้าต้องไม่เสียรูปทรงเนื่องจากแรงดึงที่มากระทำ และจะต้องไม่หดตัวเมื่อสัมผัสกับความชื้น ซึ่งผ้า
ที่ขาดการคำนึงถึงคุณสมบัติข้อนี้เมื่อนำมาเย็บเป็นถุงกรองฝุ่นและทำความสะอาด จะทำให้เนื้อผ้ามี
ช่องว่างให้อากาศผ่านเข้า-ออกได้มากขึ้น อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นลด
น้อยลงไป
|
 |
|
|
|
|
|
|
|